วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 28 มกราคม 2558



บันทึกอนุทิน

  เนื้อหา
    1.ทฤษฎีของเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
   2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
    -เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์
    -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
    -ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
    -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
    -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
    -เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ

ทักษะพื้นฐาน
   1.การสังเกต 
      -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
      -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   2.จำแนกประเภท
      -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
      -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง หาความสัมพันธ์
   3.การเปรียบเทียบ
     -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
     -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ
   4.การจัดลำดับ
     -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
     -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   5.การวัด
     -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
     -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
   6.การนับ
     -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
     -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
   7.รูปทรงและขนาด
     -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

   คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
        -ตัวเลข         น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
        -ขนาด           ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
        -รูปร่าง          วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า
        -ที่ตั้ง             บน ต่ำ ระยะทาง
        -ค่าของเงิน    สลึง หนึ่งบาท หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
        -ความเร็ว       เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
        -อุณหภูมิ       เดือด ร้อน อุ่น  เย็น   

 ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
     1.การนับ
     2.ตัวเลข
     3.การจับคู่
     4.การจัดประเภท
     5.การเปรียบเทียบ
     6.รูปร่างและพื้นที่
     7.การวัด
     8.การจัดลำดับ

เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า      อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
        กินอาหารของดีมีทั่ว            หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ            ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
     หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน 
หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง           อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลัน หลั่นล้า

เพลง เข้าแถว
 เข้าแถว เข้าแถว 
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน  
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว

วิธีการสอน  
    -มีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
   -มีการอภิปรายถาม ตอบ
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้รอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศเย็นสบาย

ประเมินตนเอง
     ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
     ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
     แต่งกายสุภาพ  ร้องเพลงเพราะ พูดเสียงดังฟังชัดเจน มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น