วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 28 มกราคม 2558



บันทึกอนุทิน

  เนื้อหา
    1.ทฤษฎีของเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
   2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
    -เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์
    -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
    -ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
    -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
    -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
    -เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ

ทักษะพื้นฐาน
   1.การสังเกต 
      -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
      -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   2.จำแนกประเภท
      -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
      -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง หาความสัมพันธ์
   3.การเปรียบเทียบ
     -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
     -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ
   4.การจัดลำดับ
     -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
     -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   5.การวัด
     -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
     -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
   6.การนับ
     -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
     -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
   7.รูปทรงและขนาด
     -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

   คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
        -ตัวเลข         น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
        -ขนาด           ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
        -รูปร่าง          วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า
        -ที่ตั้ง             บน ต่ำ ระยะทาง
        -ค่าของเงิน    สลึง หนึ่งบาท หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
        -ความเร็ว       เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
        -อุณหภูมิ       เดือด ร้อน อุ่น  เย็น   

 ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
     1.การนับ
     2.ตัวเลข
     3.การจับคู่
     4.การจัดประเภท
     5.การเปรียบเทียบ
     6.รูปร่างและพื้นที่
     7.การวัด
     8.การจัดลำดับ

เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า      อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
        กินอาหารของดีมีทั่ว            หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ            ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
     หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน 
หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง           อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลัน หลั่นล้า

เพลง เข้าแถว
 เข้าแถว เข้าแถว 
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน  
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว

วิธีการสอน  
    -มีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
   -มีการอภิปรายถาม ตอบ
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้รอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศเย็นสบาย

ประเมินตนเอง
     ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
     ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
     แต่งกายสุภาพ  ร้องเพลงเพราะ พูดเสียงดังฟังชัดเจน มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียน

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 21 มกราคม 2558



  บันทึกอนุทิน

     เนื้อหา
         ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา
           - ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
           - พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
           - พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
           - การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

           - เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
         พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก

   ประโยชน์
         - ทำให้รู้ถึงความสามารถของเด็ก
         - รู้ถึงความแตกต่างของเด็กเเต่ละคน
         - จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
       - ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์    เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
       - ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์      สร้างภาพตามจินตนาการ
       - ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวกอตซกี้  ต้องมีทักษะทางสังคม

พัฒนาการสัมพันธ์กับสมองอย่างไร
            สมองเป็นเครื่องมือ รับ ส่ง ควบคุม กำกับ ที่ส่งผลให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

การเรียนรู้ คือ
           การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ประโยชน์ของการเรียนรู้         
           เพื่อให้เราอยู่รอด ( การปรับตัวและมีชีวิตอยู่ในสังคมและโลกได้อย่างมีความสุข)

เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยวิธีใด
           ลงมือกระทำโดยอิสระ มีความสุข คิดเอง ทำเอง เกิดความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า การเล่น

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
        - ใช้รูปธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
        - ใช้สื่อที่น่าสนใจ
        - เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความคิด มีสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
        - ใช้เวลานาน เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการของเขา

เพื่อนนำเสนองานวิจัย
       -  เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       -  เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
       -  การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น

วิธีการสอน
      - มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิมของนักศึกษา
      - อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถาม
      - อาจารย์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน

ทักษะ
       - ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
       - ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ
       - ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้             
               นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเเต่ละช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน

 บรรยากาศในห้องเรียน           
               มีแสงสว่างพอดี โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย   อุปกรณ์ในการเรียนการสอนพร้อม แต่อากาศในห้องเย็นจนเกินไป

 ประเมินตนเอง
               มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจเนื้อหาที่สอน

 ประเมินเพื่อน             
               ตั้งใจเรียน ช่วยกันระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี

 ประเมินอาจารย์             
           แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เสียงดังชัดเจน สอนได้เข้าใจง่าย สั่งงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น


วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558



 สรุปการวิจัย    

รายงานการวิจัยเรื่อง  :  การสร้างเเบบทดสอบวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  :  ผู้ช่วยศาสตรจารย์คนึง  สายเเก้ว
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อสร้างเเบบทดสอบวัดความพร้อมทาง การเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีลักษณะเป็นเเบบทดสอบเชิงรูปภาพ  เพื่อวัดความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  สำหรับเเบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 360 ข้อ   นำไปทดสอบใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 จากโรงเรียนต่างๆที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 9 โรงเรียน โดยทำการทดสอบเป็น 2 ครั้ง  ในครั้งเเรกทำการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน  เพื่อเป็นการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ  เเละหลังการทดสอบผู้วิจัยนำเเบบทดสอบมาปรับปรุงเเก้ไขเพื่อหาระดับความยากเเละค่าอำนาจจำเเนกเป็นหลักในการพิจารณา และจากการทดสอบครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อสอบไว้จำนวน  300 ข้อ จากนั้นนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 120 คน หลังการทดสอบนำมาพิจารณาเเก้ไขเเละนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 20 คน เพื่อปรับปรุงเเก้ไขเเบบทดสอบเป็นครั้งที่สอง ปรากฏผลดังนี้  ได้จำนวนเเบบทดสอบที่ใช้ได้จำนวน 240 ข้อ  ซึ่งมีค่าความยาก  20%   ถึง 80%  ค่าความเที่ยงเท่ากับ   90  นำเเบบทดสอบมาจัดทำเป็นเเบบทดสอบมาตรฐานสำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558



สรุปบทความ


เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์  คลิกดูบทความ

            การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
           การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวนความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้จากการใช้คำถาม 



วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2 วันที่ 14 มกกราคม 2558



บันทึกอนุทิน

 เนื้อหา
 ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ความหมาย
         คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขเเละการคำนวณ  เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคนเเละทุกๆอาชีพ ล้วนมีครฺตศาสตร์เข้ามาในการทำงาน
2. ความสำคัญ
         คณิตศาสตร์เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคิดเเละพิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นภาษาอย่างหนึ่ง ใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายอย่างรัดกุมเเละสื่อความหมายได้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถฝึกไหวพริบปฏิภานต่างๆ  เเละการมีระเบียบ  
3. ประโยชน์
         - เด็กสามารถจำเเนกสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่  เช่น ขนาด  ปริมาณ  รูปทรง  
         - นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-ขายสินค้า การบอกเวลา
         - สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น การจับคู่จำนวณที่เท่ากัน
4. เเนวคิดพื้นฐาน
         เเนวคิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการคิดที่จะพัฒนาการของเด็กเพื่อพัฒาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิ์ภาพ โดยมีกรอบมาตราฐานของ สสวท. ดังนี้    
         1.จำนวณเเละการดำเนินการ
         2.การวัด
         3.เรขาคณิต
         4.พีชคณิต
         5.การวิเคราะข้อมูลเเละความน่าจะเป็น

วิธีการสอน
         ศึกษาด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่ม  เเละให้ทายตัวเลขในชีวิตของตัวผู้สอนเเละตัวเเทนเพื่อนในห้อง

การประยุกต์ใช้
      เราสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปจัดทำเป็นเกมการศึกษาให้เด็กๆเล่น เช่น  เกมจับคู่รูปทรงให้เด็กๆจับคู่ที่มีรูปทรงเหมือนกัน   หรือเกมทาย มีเเก้วใส่น้ำอยู่ 2 ใบเเต่ละใบจะมีปริมาณไม่เท่ากันให้เด็กทายว่าใบไหนมีปริมาณน้ำน้อยใบไหนมีปริมาณน้ำมาก

บรรยากาศในห้องเรียน
         อากาศในห้องเย็นจนเกินไปอยากให้ลดเเอร์ลงหน่อย เนื่องจากช่วงนี้มีอากาศหนาวมาก  ห้องเรียนสะอาด โต๊ะเก้าอี้เป็นระเบียบเรียบร้อย
 
ประเมินเพื่อน
         อาจารย์สั่งให้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อนในกลุ่มให้ความร่วมมือช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์พูดเสียงดังชัดเจน แต่มีบางช่วงที่อาจารย์สั่งงานเเล้วไม่ค่อยเข้าใจ การเเต่งกายเรียบร้อย
         
         

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 7 มกราคม 2558


บันทึกอนุทิน

     
      เนื้อหา
       การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
           - คณิตศาสตร์
                  รูปทรงเรขาคณิต
                  การคำนาณ
                  การนับเลข
                  รู้จักตัวเลข
                  สัญลักษณ์
          - เด็กปฐมวัย
                 อายุเเรกเกิด - 5 ขวบ
                 มีความต้องการทางด้าน
                       -ร่างกาย
                       -อารมณ์- จิตใจ
                       -สังคม
                       -สติปัญญา

 เเนวทางการปฏิบัติที่คาดหวัง มี 6 ด้าน
            1.คุณธรรมจริยธรรม
            2.ความรู้ตัวสาระเนื้อหา
            3.ทักษะทางปัญญา
            4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
            5.ทักษะทางตัวเลขประมวลสารสนเทศ
            6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้

  วิธีการสอน
        การตอบคำถาม  ช่วยกันระดมความคิด เเละสรุปเป็น Mind Map
         
 ประยุกต์ใช้
        นำความรู้ที่ได้จากวิชาคณิตศาสตร์ ไปสอนเด็ก เช่น ให้เด็กเล่นรูปทรง  หรือเกมจับคู่รูปทรงที่เหมือนกัน

  ประเมินเพื่อน
         เพื่อนตั้งใจเรียนทุกคน  ไม่ส่งเสียงดังหรือพูดคุยกันในขณะที่อาจารย์กไลังสอน

  ประเมินอาจารย์
         อาจารย์เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย    เวลาอาจารย์สอนเสียงดังชัดเจนและเข้าใจง่าย

  บรรยากาศในห้องเรียน
          ห้องเรียนสะอาด  โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียนร้อย  อากาศในห้องเย็นสบาย ไม่ร้องหรือหนาวจนเกินไป