วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา
  - กิจกรรมเขียนชื่อนบนกระดาน เรื่อง เวลาการมาเรียน (นาฬิกา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
     ความรู้ที่ได้ คือ

  1. ได้เรื่องของเวลา

  2. ได้เรื่องภาษา

  3. 
ได้เรื่องของลำดับการมาก่อน- หลัง

 -
ทบทวนเพลง  ที่อาจารย์สอนร้อง
 
- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       
 1. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบบูรณาการ
        2. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบโครงการ

        3. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบสมองเป็นฐาน

        4. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบ STEM
        5. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบมอนเตสเซอรี่

        6. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบเดินเรื่อง


-
นำเสนอโทรทัศน์ครู        
         เลขที่ 17 นำเสนอ เรื่อง " การสอนโดยใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ 


-
รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)
        
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

-
ความสำคัญ
        1. ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน ทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆมาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้

        ดังนั้น การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง

        2. การจัดประการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์ ( Transfer of learning)  ของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน

        3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร ทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้น้อยลง

        4. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถหลายๆด้านของผู้เรียน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะ เจตคติ " แบบพหุปัญหา" ( Multiple intelligence)
        5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน (เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเอง)


-
การนำไปใช้  
       ผู้สอนควรคำนึงถึง.......
                
เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร
                 
เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร

วิธีการสอน
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
-
มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
-
เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
-
บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน


ทักษะ
- ทักษะในการถามตอบ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ที่ได้

การนำไปประยุกต์ใช้       
     นำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่าง โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

 ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าใจ

ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

 ประเมินอาจารย์        
        สอนได้เข้าใจง่าย การพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป   ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น หากิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำและมีการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้เข้ากับกิจกรรม  ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น




วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกอนุทิน

เนื้อหา
    
   กิจกรรมสถานที่ท่องเที่ยว             
            ผลจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่อง จำนวน การนับ ได้เทคนิคการสอนเด็กไม่ว่าจะสอนอะไรสามารถนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ เป็นการสอนในเชิงปฏิบัติ

   ทดสอบก่อนเรียน
         เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง

   เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        -นิทาน
        - เพลง
        - เกม
        - คำคล้องจอง
        - ปริศนาคำทาย
        - บทบาทสมมุติ
        - แผนภูมิ
        - ประกอบอาหาร

   เพื่อนนำเสนอวิจัย
      - เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          การสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน,ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
      - เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
        การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร  ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย  คิดอย่างเป็นระบบ

    แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
         แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อันให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป



เพลงนิ้วมือ
            นี้คือนิ้วมือของฉัน    มือของฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว     มือขวาก็มี 5 นิ้ว
     นับ 1 2  4  5            นับต่อมา 6 7 8 9 10
    นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ    นับ 1-10 จำให้ขึ้นใจ

เพลง 1 2 3
 1 2 3 เป็นยามปลอด       4 5 6 ลอดรั้วออกไป
7 8 9 เเดดเเจ่มใส่          10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ        14 15 หลับเเล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน        18 19 20 ฉันนั้นหัวโน

วิธีการสอน
     มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
     เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดช่วยกันตอบคำถาม

ทักษะที่ได้
     ได้ประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
     ได้ทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
     ได้ทักษะในการคิดและตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้
      สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กในเรื่องของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีวิธีการที่หลากหลาย

บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม บรรยากาศในห้องเย็นจนเกินไป

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียนและการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเข้าเรียนเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม


ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกอนุทิน


 เนื้อหา

     กิจกรรมติดชื่อบนกระดาน ( มาเรียนกี่โมง) ให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดป้ายชื่อของตนเองมาเรียนกับไม่มาเรียน เป็นการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  ทดสอบการเรียน
       1. มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
       2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
       3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

    เรียนเรื่อง
     1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
     2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

   นำเสนอบทความ
    เลขที่ 10 เรื่อง Mathematic ของวัยซน

 มาตรฐาน คือ
         เครื่องมือในการบอกคุณภาพ โดยมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดและใช้เกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดประเมินผล

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
         เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
         สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน 
         สาระที่ 2 : การวัด 
         สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
         สาระที่ 4 : พีชคณิต 
         สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยทางคณิตศาสตร์
    1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking)
         - จำนวนนับ 1 ถึง 20
         - เข้าใจหลักการนับ (เพิ่มขึ้นทีละ 1)
         - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย ( รู้จักตัวเลข)
         - รู้ค่าของจำนวน ( ต้องมีทักษะการนับเป็นอันดับแรก ถึงจะรู้ค่าของจำนวนได้)
         - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ( บอกค่าและจำนวน และนำมาเปรียบเทียบ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ใน                การเปรียบเทียบ
         - การรวมและการแยกกลุ่ม เช่น ติดป้ายชื่อการมาเรียน กับการมาเรียน)
    2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
        - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
        - รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
        - เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำชี้ใช้บอกช่วงเวลา (กิจกรรมที่ใช้ในการบอกเด็ก เช่น การเข้าแถว )
   3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
        - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
        - รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจรูปของที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
   6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
    สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
        มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
   จำนวน
     - การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
     - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
     - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
     - การเปรียบเทียบจำนวน
     - การเรียงลำดับจำนวน
   การรวมและการแยกกลุ่ม
    - ความหมายของการรวม ( ทำให้เพิ่มขึ้น )
    - การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
    - ความหมายของการแยก ( ทำให้ลดลง )
    - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

   สาระที่ 2 : การวัด
       มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
   ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
    - เปรียบเทียบ / วัด / เรียงลำดับความยาว
    - เปรียบเทียบ / ชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
    - เปรียบเทียบ / ปริมาตร / ตวง
   เงิน
     - ชนิดค่าของเงิน / เหรียญ / ตวง
   เวลา- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
     - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

   สาระ 3 : เรขาคณิต
      มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
      มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการ       จัดกระทำ
   ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
     - ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงระบอก
     - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
     - การเปลี่ยนแปลงรูปเราขาคณิตสองมิติ
     - การสร้างสรรค์งานศิลปะ รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

   สาระที่ 4 : พีชคณิต
        มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
   แบบรูปและความสัมพันธ์
      - แบบรูปของรูปที่มี รูป ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

   สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่จะนำเสนอ
   การเก็บข้อมูล
      - แผนภูมิ

   สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
     - การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์





เพลง : จัดแถว

สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


เพลง : ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน
หันตัวไปทางนั้นแหละ


วิธีการสอน
      - ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบความรู้เดิม
      - อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
      - มีการถาม-ตอบ
      - ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน


ทักษะ

     - ทักษะในการคิดวิเคราะห์
     -  ทักษะในการถาม- ตอบ
     - ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น



การนำไปประยุกต์ใช้    

        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนให้กับเด็ก ให้สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม บรรยากาศในห้องเย็นสบาย



ประเมินตนเอง

        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน



ประเมินเพื่อน

        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์        

        สอนได้เข้าใจง่าย การพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป  ร้องเพลงได้ไพเราะ  ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น ทำให้เกิดความรู้มากขึ้น








วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



สรุปโทรทัศน์ครู


สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
             ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยจะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ “นิทาน” เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การเล่านิทานครูอาจจะนำเรื่องที่่ง่ายๆมีตัวละครไม่เยอะเราอาจจะให้เด็กมาร่วมเเสดงด้วย การที่เรานำนิทานมาใช้ จะทำให้ตอบสนองความต้องการของเด็กได้ เพระธรรมชาติของเด็กเด็กชอบฟังนิทาน ลองปรับนิทานให้เป็นเรื่องง่ายเอาสอนเด็กตัวสะครไม่เยอะ และเราก็นำมาให้เด็กได้เล่นได้สนุกเเละเด็กก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์