วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15 วันที่ 1 พฤษภาคม 2558




สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.วิธีการทำบล็อกเเละองค์ประกอบต่างๆ
3.ความรู้จากสิ่งที่ได้รับมอบหมายในเรื่องงานวิจัย บทความ เเละโทรทัศน์ครู
4.ความรู้จากการทำรายงานเรื่องของเเบบการสอนต่างๆ เช่น การสอนเเบบโครงการ
การสอนเเบบมอนเตสเซอรี่ การสอนเเบบสตรอรี่ไลน์ การสอนเเบบสมองเป็นฐาน การสอบเเบบstem
5.ความรู้ที่ได้รับจากการออกเเบบการทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
6.ความรู้ที่ได้รับจากการเขียนเเผนการสอน  วิธีการเขียนแผน
7.ได้รับความรู้จากการนำเสนองานของเพื่อนและของตนเอง

ทักษะ
1.การพูดรายงานหนาชั้นเรียงลำดับก่อนหลังว่าจะพูดอย่างไร
2.กระบวนการคิดวิเคราะห์
3.การทำงานเป็นกลุ่ม
4.การเขียนเเผนเเละสิ่งที่จะใช้ร่วมกับแผน
5.การเรียบเรียงการเเต่งคำคล้องจอง นิทาน เเละปริศนาคำทาย
6.การเเต่งเพลงที่นำมาใช้ร่วมกับการสอนตามเเผนและวิธีการสอนเด็กปฐมวัย

เทคนิค


1.วิธีการทำบล็อก
2.การใช้คำพูดต่างๆในการทดลองสอนเเผน
3.การนำสิ่งรอบๆตัวมาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิชาคณิตศาสตร์
4.คิดกระบวนการที่จะประดิษฐ์สื่อการสอน


คุณธรรมจริยธรรม

1.เคารพกฎกติกาในห้องเรียน
2.เเต่งกายถูกระเบียบ
3.
ความตรงต่อเวลา ไม่เข้าเรียนสาย

          ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้คำเเนะนำในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางด้านวิชาการด้านคุณธรรมจริยธรรม  และเทคนิคการสอนต่างๆ ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ขอบคุณค่ะ


ครั้งที่ 14 วันที่ 1 พฤษภาคม 2558



บันทึกอนุทิน


เนื้อหา

อาจารย์และนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา

มาตรฐานการเรียนรุ้คณิตศาสตร์
     การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
-หาเรื่องที่จะสอน
-วิเคราะห์สาระของหลักสูตร
     สาระที่ควรเรียนรู้
     1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
     2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
     3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
     4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
-หาข้อมูล
-ทำ mind mapping
-ดูประสบการณ์สำคัญ  (ด้านสติปัญญา)

-สาระกรอบมาตราฐานคณิตศาตร์

การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
-ภาษา,สุขศึกษา,สังคมศึกษา,ดนตรี,ศิลปะ,วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
-พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
    1.ด้านร่างกาย
    2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
    3.สังคม
    4.สติปัญญา
-การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก
    1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
    2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
    3.กิจกรรมเสรี 
    4.กิจกรรมกลางแจ้ง 
    5.กิจกรรมศิลปะสร้า งสรรค์ 
    6.เกมการศึกษา

เทคนิคการสอน
     -เพลง
     -นิทาน
     -คำคล้องจอง
     -ปริศานาคำทาย
     -เกม
     -สื่อ

การจัดลำดับ
     -ขั้นนำ...........
     -ขั้นสอน........
     -ขั้นสรุป.........

การประเมิน
     -การสังเกต   เครื่องมือ  แบบบันทึก
     -การสทนา   เครื่องมือ   แบบบันทึก
     -ผลงาน       เครื่องมือ   แบบประเมินชิ้นงาน

กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     -นับจำนวนการจ่ายตังค์ที่ตลาดกับผู้ปกครอง
     -การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
     -การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
     -การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
     -ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหา

เกมการศึกษาคือ
       กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยเน้นทางด้านสติปัญญา

ประเภทของเกมการศึกษา
     -เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
     -เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
     -เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
     -เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
     -เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
     -เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
     -เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)

วิธีการสอน
      อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถามให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ

ทักษะที่ได้รับ
     ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะในการตอบคำถามทักษะในการนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน

การประยุกต์ใช้
       สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้ตรงตามพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการไปทุกๆด้าน

บรรยากาศในการสอน
      มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนบรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป

ประเมินเพื่อน
       เพื่อน ๆ มีความตั้งเรียนดี

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลาหลายเปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถามเข้าสอนตรงเวลา







ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 27 เมษายน 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา

ทำแบบประเมิน ทบทวนความรู้      โดยมีเนื้อหาดังนี้

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.
การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.
หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.
การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.
สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.
ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.
ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.
ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.
ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.
ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง
วิธีการสอน
           วันนี้อาจารย์แจกใบประเมินทบทวนความรู้  โดยให้นักศึกษาตอบคำถาม แล้วส่ง

ทักษะที่ได้รับ
        ได้ทบทวนความรู้เดิมว่าเราเรียนอะไรไปบ้าง

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ในการจัดกิจรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

บรรยากศในการสอน
      อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามใจตนเอง

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นักศึกษาทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอมที่เรียนมา


วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 23 เมษายน 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา

        -  นักศึกษาฝึกสอนตามแผนที่ได้เขียน





วิธีสอน
      - ให้นักศึกษาฝึกสอนตามแผน

ทักษะที่ได้
     - เทคนิคการสอนที่ถูกต้อง
     - เทคนิคการใช้คำถามกระตุ้นคความคิดและความสนใจของเด็ก

การประยุกต์ใช้
      นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ถูกต้องตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง

บรรยากาศในห้อง
           มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมินตนเอง
       กล้าแสดงออก ตั้งใจฟังเพื่อนๆฝึกสอน

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจฝึกสอน  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินอาจารย์
       แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี  สอนเข้าใจง่าย อธิบายอย่างเป็นขั้นตอน  ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 8 เมษายน 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา

   การออกแบบกิจกรรม 
         
       - ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
             1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
             2. วิเคราะห์เนื้อหา
             3. ศึกษาประสบการณ์จริง
             4. บูรณาการคณิตศาสตร์
             5. ออกแบบกิจกรรม
       - สาระที่ควรเรียนรู้
             1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
             2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
             3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
             4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
       - หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
             1. เรื่องใกล้ตัว
             2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
       - ประสบการณ์สำคัญ
             ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
             ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
             ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
             ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
       - ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
             เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
             1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
             2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก
        - ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
                กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
                กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
        -  แบ่งกลุ่มทำ  Mind Mapping
                    แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "




              ใน Mind Mapping เรื่อง ส้ม 
                      - ชนิด
                      - ลักษณะ
                      - การดูแลรักษา
                      - ประโยชน์
                      - ข้อควรระวัง
                      - การขยายพันธุ์

           การทำ Mind Mapping ในครั้งนี้ได้อ้างถึงในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย ในเรื่องของสาระที่เด้กควรเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยผ่านประสบการณ์จริง


       -  เขียนแผนการสอนรายกลุ่มเรื่อง ส้ม



วิธีการสอน

   -มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
   -มีกิจกรรมสอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ 

ประเมินตนเอง
     ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมาก ขึ้นอีก ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอดแทรกในการเรียนการสอน 

ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์
         แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่            สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน



วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา

     กิจกรรมต่อไม้รูปทรงตรงต่างๆ
     อุปกรณ์
         1.ไม้
         2.ดินน้ำมัน

            1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
            2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
            3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
            4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
            5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
            6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้

     แต่ละกลุ่มนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
            รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
            รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์
            รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน  BBL
            รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM

     นำเสนอบทความ
           เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     นำเสนอโทรทัศน์ครู
           เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
           เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน


วิธีการสอน
         -นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
         -นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์
         -นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน  BBL
         -นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
         -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อการสอน


ทักษะ
       -การนำเสนอ
       -ความกล้าแสดงออก
      -การอภิปรายถามตอบ


การประยุกต์ใช้
                นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์รูปแบบต่างๆมาใช้กับเด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน  และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น


 ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน ตั้งใจนำเสนองาน เข้าใจในเนื้อหาการสอน


 ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี นำเสนองานได้เข้าใจ


 ประเมินอาจารย์
         แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังชัดเจน มีเทคนิคการสอนที่ดี สอนเข้าใจทำให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ


           

            

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558


บันทึกอนุทิน

เนื้อหา
        
    - นำเสนอวิจัย
           
เลขที่ 22

   -
นำเสนอบทความ
           
เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
           
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
       
  -
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
           
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
           
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ



วิธีการสอน
-  ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  
ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  
ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้            
        นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน  และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น


 ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน นำเสนองานค่อนข้างติดขัด 


 ประเมินเพื่อน 
        เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


 ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี สอนเข้าใจทำให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ


ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 มีนาคม 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา

- ก่อนการเริ่มการเรียนการสอน           

            ให้ทำกิจกรรมติดชื่อมาโรงเรียนของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  คือ ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง  มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 16 คน ในกิจกรรมนี้จะเชื่อมโยงไปสู่สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์                   
                 สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
               
 สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ  เท่ากัน ไม่เท่ากันน้อยกว่า มากกว่า
                 
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
                 
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
                 
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ                                     สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา


- นำเสนอบทความ            
            เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว ซึ่งเป็นการสอนจากพ่อแม่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นการสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน


- นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
           รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครง เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอเป็น Powerpoint และมีโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการมาเสริมความรู้ ให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย

- ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง
                    เพลง บวก- ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ     ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

                        แปลงเพลง
 บ้านฉันมีแจกันห้าใบ        ลุงให้อีกสี่ใบนะเธอ
 มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เก้าใบ       

 บ้านฉันมีแจกันเก้าใบ       หายไปสี่ใบนะเธอ

 ฉันหาถ้วยแล้วไม่เจอ       ดูซิเออเหลือเพียงแค่ห้าใบ

    เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
  ช้างมีสี่ขา         ม้ามีสี่ขา
 คนเรานั้นหนา   สองขา  ต่างกัน
 ช้างม้ามี            สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
 เเต่กับคนนั้น     ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)
                
              เเปลงเพลง
  เเมวมีสี่ขา         หมามีสี่ขา
 คนเรานั้นหนา   สองขา  ต่างกัน
 เเมวหมามี            สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
 เเต่กับคนนั้น     ไม่เท่ากันเอย  

            เพลง  ขวดห้าใบ
 ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
 เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
 คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

            เพลง จับปู
1  2  3  4  5        จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว   ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ


วิธีการสอน
  - บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
  - มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
  - เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
  - ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน

ทักษะ
   - ทักษะในการตอบคำถาม
   -
ทักษะในการร้องเพลง
   -
ทักษะในการแปลงเพลง
   -
ทักษะในการสรุปองค์ความรู้

   - ทักษะการคิดวิเคราะห์



การนำไปประยุกต์ใช้
              นำไปใช้ในการจัดเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็ก และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเลือกกิจกรรมในการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่างมากพอ พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีปัญหาขัดข้องเมื่อนำซีดีไปเปิดงานไม่สามารถเปิดได้ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

ประเมินตนเอง
       
มีความพร้อมในการเรียน   ตั้งใจเรียน และมีความรู้เนื้อหาที่สอนมากขึ้น  มีบ้างช่วงที่ไม่เข้าใจบ้างเล็กน้อย




ประเมินเพื่อน
         เพื่อนบางคนก็คุยกัน  บางคนก็นั่งหลับ และเพื่อนบางกลุ่มไม่มีความพร้อมในการเรียน คือ ไม่เตรียมงานมานำเสนอ


ประเมินอาจารย์
          มีเทคนิคการสอนที่ดี การเรียนในวันนี้ไม่เป็นไปตามที่อาจารย์เขียนแผนไว้ แต่อาจารย์ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้  น้ำเสียงสูงต่ำตามจังหวะ ร้องเพลงได้ไพเราะ น่าฟัง




วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558



บันทึกอนุทิน

เนื้อหา
  - กิจกรรมเขียนชื่อนบนกระดาน เรื่อง เวลาการมาเรียน (นาฬิกา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
     ความรู้ที่ได้ คือ

  1. ได้เรื่องของเวลา

  2. ได้เรื่องภาษา

  3. 
ได้เรื่องของลำดับการมาก่อน- หลัง

 -
ทบทวนเพลง  ที่อาจารย์สอนร้อง
 
- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       
 1. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบบูรณาการ
        2. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบโครงการ

        3. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบสมองเป็นฐาน

        4. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบ STEM
        5. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบมอนเตสเซอรี่

        6. รูปแบบการจัดประสบการณ์  แบบเดินเรื่อง


-
นำเสนอโทรทัศน์ครู        
         เลขที่ 17 นำเสนอ เรื่อง " การสอนโดยใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ 


-
รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)
        
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

-
ความสำคัญ
        1. ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน ทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆมาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้

        ดังนั้น การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง

        2. การจัดประการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์ ( Transfer of learning)  ของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน

        3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร ทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้น้อยลง

        4. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถหลายๆด้านของผู้เรียน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะ เจตคติ " แบบพหุปัญหา" ( Multiple intelligence)
        5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน (เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเอง)


-
การนำไปใช้  
       ผู้สอนควรคำนึงถึง.......
                
เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร
                 
เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร

วิธีการสอน
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
-
มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
-
เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
-
บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน


ทักษะ
- ทักษะในการถามตอบ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ที่ได้

การนำไปประยุกต์ใช้       
     นำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน
       มีแสงสว่าง โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบ พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

 ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าใจ

ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

 ประเมินอาจารย์        
        สอนได้เข้าใจง่าย การพูดไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป   ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น หากิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำและมีการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้เข้ากับกิจกรรม  ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น